จักรราศี
คือ วิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ ผ่านกลุ่มดาวต่างๆ 12 กลุ่ม ในรอบ 1 ปี ที่เรียกว่า “เส้นรวิมรรค” หรือ “เส้นสุริยวิถี” ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม 360 องศา และแบ่งกลุ่มดาวออกเป็น 12 ราศีซึ่งแต่ละราศีจะมีสัญลักษณ์ ครองอยู่มีระยะ 30 องศา เรียกว่า “จักรราศี” แล้วนำลักษณะท้องฟ้าที่ปรากฏ มาเขียนได้รูปวงกลมแบ่งเป็น 12 ช่องตามราศี
โดยเริ่มต้นที่ราศีเมษ (ใช้เลข 0 แทนราศีเมษ) ในเดือนเมษายน ตามระบบสุริยะคติ เรียงไปจนถึงราศีสุดท้ายที่ ราศีมีน(ใช้เลข 11 แทนราศีมีน) ในเดือนมีนาคม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อราศี สัญลักษณ์ เลขแทนราศี ธาตุราศี ดาวเกษตร
เมษ แกะ ๐ ไฟ ๓
พฤษภ โค ๑ ดิน ๖
มิถุน คนคู่ ๒ ลม ๔
กรกฎ ปู ๓ น้ำ ๒
สิงห์ สิงโต ๔ ไฟ ๑
กันย์ หญิงสาว ๕ ดิน ๔
ตุลย์ คันชั่ง ๖ ลม ๖
พิจิก แมงป่อง ๗ น้ำ ๓
ธนู คนยิงธนู ๘ ไฟ ๕
มังกร มังกร ๙ ดิน ๗
กุมภ์ คนแบกหม้อน้ำ ๑๐ ลม ๘
มีน ปลาคู่ ๑๑ น้ำ ๕
มาตราโหราศาสตร์
1 วงกลมจักรวาล = 12 ราศี1 วงกลมจักรวาล = 360 องศา
1 ราศี = 30 องศา( 3 ตรียางค์ หรือ 9 นวางศ์)
1 ตรียางค์ = 10 องศา ( 3 นวางศ์)
1 นวางศ์ = 3 องศา 20 ลิปดา
1 องศา = 60 ลิปดา
1 ลิปดา = 60 พิลิปดา
ประเภทราศี (คุณะราศี)
จรราศี คือ ราศีแกน ได้แก่ ราศี เมษ กรกฏ ตุลย์ มังกร ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ในราศี มีความเข้มแข็ง หนักแน่นรุนแรง ขยายออกไป ไม่หยุดนิ่ง
สถิรราศี คือ ราศีที่อยู่หน้าราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี พฤษภ สิงห์ พิจิก กุมภ์ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่มีความมั่นคง หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง
สามัญ (อุภัยราศี) คือ ราศีที่อยู่หลังราศีแกน (ทวนเข็มนาฬิกา) ได้แก่ ราศี มิถุน กันย์ ธนู มีน ราศีเหล่านี้มีอิทธิพลให้ดาวที่เข้ามาอยู่ มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งดีและร้าย
ราศีธาตุไฟ หมายถึง สติปัญญา ความกระตือรือร้น ความก้าวหน้า ความสร้างสรรค์ ได้แก่ราศี เมษ สิงห์ ธนู
ราศีธาตุดิน หมายถึง ความหนักแน่น มั่นคง การสะสม เงียบขรึม ได้แก่ราศี พฤษภ กันย์ มังกร
ราศีธาตุลม หมายถึง การเคลื่อนไหว ผันผวนเปลี่ยนแปลง คล่องแคล่ว การติดต่อสื่อสาร ได้แก่ราศี มิถุน ตุลย์ กุมภ์
ราศีธาตุน้ำ หมายถึง ความเมตตา อ่อนไหว อ่อนโยน ไม่แน่นอน เฉื่อยช้า ได้แก่ราศี กรกฏ พิจิก มีน
ธาตุประจำราศี
ธาตุ ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุดิน
ราศีแม่ธาตุ เมษ กรกฏ ตุลย์ มังกร หนักแน่น รุนแรง ขยายออก
ราศีกลางธาตุ สิงห์ พิจิก กุมภ์ พฤษภ มั่นคง หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยน
ราศีปลายธาตุ ธนู มีน มิถุน กันย์ ผันผวนไม่แน่นอน
เครื่องหมายแทนดาวและกำลังโคจรของดาว
ดาวเคราะห์ที่ปรากฏอยู่ในโหราศาสตร์ไทยมีอยู่ ๑๐ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรเป็นวงรอบโลกในเขตรัศมีของสุริยวิถี มีเครื่องหมายแทนชื่อและมีอัตรากำลังโคจรต่างๆ กัน คือ
อาทิตย์ เลข ๑ อักษร อ เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๓๐ วัน
จันทร์ เลข ๒ อักษร จ เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๒ วันครึ่ง
อังคาร เลข ๓ อักษร ภ เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๔๕ วัน
พุธ เลข ๔ อักษร ว เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๓๐ วัน
พฤหัสบดี เลข ๕ อักษร ช เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๑ ปี
ศุกร์ เลข ๖ อักษร ศ เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๓๐ วัน
เสาร์ เลข ๗ อักษร ส เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๒ ปีครึ่ง
ราหู เลข ๘ อักษร ร เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๑ ปีครึ่ง
เกตุ เลข ๙ อักษร ก เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๒ เดือน
มฤตยู เลข ๐ อักษร ม เป็นเครื่องหมายแทน มีกำลังโคจรปกติราศีละ ๗ ปี
การโคจร หรือการเคลื่อนที่ไปของดาวทุกดวง เว้นอาทิตย์และจันทร์ เฉพาะดาวบางดวงก็มีอาการเคลื่อนที่ไปอย่างผิดปกติ
ถ้าโคจรเร็ว เรียกว่าเสริด
เสริด เมื่อดาวเคราะห์ใดเคลื่อนจากระยะไกลอาทิตย์ เข้าระยะใกล้กับอาทิตย์ย่อมใกล้เข้าไปก็ได้กำลังดึงดูดจากอาทิตย์มากขึ้น ดังนั้นจึงเพิ่มกำลังความเร็วขึ้น เรียกว่าเสริด คือความเร่งรีบ
ถ้าช้ากว้าปกติหรือถอยหลังเรียกว่าพักร ดาวถอยหลัง ทำให้ผลที่จะได้ล่าช้า ไม่เป็นผล
พักร เมื่อดาวเคราะห์ใดทิ้งระยะห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น กำลังเคลื่อนของดาวนั้นจะช้าลงหรือถอยหลัง เรียกว่าดาวดวงนั้นพักร คือเมื่อดาวเคราะห์ออกอยู่นอกทางที่อยู่ในระยะใกล้ชิดกับดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นทางโคจรธรรมชาติของดาวเคราะห์นั้นเอง เพราะเมื่อถอยห่างจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์นั้นก็เสียกำลังดึงดูดที่ได้จากดวงอาทิตย์ไปทีละเล็กละน้อยเพื่อให้ได้กำลังนั้นคืนมา ดาวเคราะห์จึงมีอาการพักร
ถ้าอยู่ในราศีหนึ่งนานกว่าปกติ ดาวที่เดินช้า หยุดนิ่ง เรียกว่ามนท์
มนท์ คือดาวเคราะห์โคจรอยู่ในลักษณะเริ่มช้าลง พิกัดแต่ละวันเริ่มลดลงๆ เป็นอย่างนั้นอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็กลับโคจรย้อนวิถี
ดาวที่ไม่โคจร พักร มนท์ เสริด คือ ดาวอาทิตย์ จันทร์ ราหู เกตุ
ดาวศุภเคราะห์ (บุญฤทธิ์) คือ จันทร์ พุธ พฤหัส ศุกร์
ดาวบาปเคราะห์ (อิทธิฤทธิ์) คือ อาทิตย์ อังคาร เสาร์ ราหู เกตุ มฤตยู
บางตำราว่า ดาวอาทิตย์ เป็นดาว อัพยากฤต ให้ผลเป็นกลาง
ความหมายดาว
ดาวอาทิตย์ ๑ ร่างกาย จุดเจ้าชะตาชาย สามี บิดา เจ้านาย หัวหน้า ผู้มีอำนาจ ข้าราชการ อำนาจ ยศศักดิ์ ความเย่อหยิ่ง ทิฐิ หรูหราโอ่อ่า ใจร้อนวู่วาม ความร้อน ไฟฟ้า
ดาวจันทร์ ๒ สตรี จุดเจ้าชะตาหญิง ภรรยา มารดา ประชาชนคนทั่วไป ครอบครัว อารมณ์ จินตนาการ การเดินทาง น้ำ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ
ดาวอังคาร ๓ ผู้ชาย วัยฉกรรจ์ การกระทำ การงาน ความขยัน กล้าแข็ง ภาระ ความรุนแรง แตกหัก ความขัดแย้ง อุบัติเหตุ กะทันหัน ทำลายของแหลมคม โลหะ
ดาวพุธ ๔ อ่อนวัย การติดต่อสื่อสาร ความคิด การวางแผน การเจรจา คำพูด งานเขียน เอกสาร ตัวแทน นายหน้า เพื่อน ข้อมูลข่าวสารไหวพริบปฏิภาณ
ดาวพฤหัสบดี ๕ ผู้หลักผู้ใหญ่ ความสำเร็จ โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง ความสมบูรณ์ การคุ้มครองรักษา ป้องกัน กฎหมาย ศาสนา ระเบียบแบบแผน ประเพณี ความรู้ การศึกษา
ดาวศุกร์ ๖ ผู้หญิง ความรัก ความหวัง ความสุข ความสวยงาม ศิลปะ บันเทิงรื่นรมย์ ดนตรี เพศสัมพันธ์ การเงิน เงินสด สิ่งหอมหวาน
ดาวเสาร์ ๗ คนแก่ ความทุกข์ โทษ ความยากจน การพลัดพราก โยกย้าย ความตระหนี่ คิดรอบคอบ ตรึกตรอง ที่ดิน วัสดุ ล่าช้า เก่าโบราณเหน็ดเหนื่อย โรคเรื้อรัง
ดาวราหู ๘ โจร ความลุ่มหลง เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบปฏิภาณ การเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านดีและร้าย ผันผวน ไม่แน่นอน ภัยมืด อุบัติเหตุ หลบซ่อน อบายมุข สังคม สิ่งมอมเมา สารเคมี
ดาวเกตุ ๙ คนบ้า คนผิดปกติ ความผันผวน วุ่นวาย กังวล ความผิดปกติ ผิดธรรมชาติ เหนือธรรมชาติ สัมผัสที่หก วิญญาณ เทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เดินทางไกล ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ
ดาวมฤตยู ๐ ความเครียด วิกฤติ กะทันหัน ความรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ความลับ ไม่เปิดเผย ความวิบัติ ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ วิญญาณ โหราศาสตร์ สิ่งลี้ลับว่างเปล่า
ทายนิสัยของดาวหรือ อำนาจดาว ตามหลักโหรไทยได้วางไว้ดังนี้
ทาย ยศศักดิ์อัครฐาน ทาย อาทิตย์
ทาย รูปจริต จิตใจ ทาย จันทร์
ทาย กล้าแข็ง ขยัน ทาย อังคาร
ทาย เจรจาอ่อนหวาน ทาย พุธ
ทาย ปัญญาบริสุทธิ์ ทาย พฤหัสบดี
ทาย โภคสมบัติ (กิเลสกำหนัด) ทาย ศุกร์
ทาย โทษทุกข์ ทาย เสาร์
ทาย ลุ่มหลง มัวเมา ทาย ราหู
ทาย อายุยืน ทาย เกตุ
ทาย อาเพศ ทาย มฤตยู
คำคมคารมครู (่ท่องจำ)
ยศศักดิ์หมายถึงอาทิตย์ รูปจริตทายจันทร์
กล้าขยันทายอังคาร อ่อนกวานทายพุธ
ปัญญาบริสุทธิทายพฤหัส กิเลศสมบัติทายศุกร์
โทษทุกข์ทายเสาร์ มัวเมาทายราหู
อายุยืนทายเกตุ ภัยอาเพททายมฤตยู
ดาวคู่มิตร คู่ศัตรู คู่สมพล คู่ธาตุ
๑ – ๕ ๑ - ๓ ๑ – ๖ ๑ – ๗
๒ - ๔ ๔ - ๘ ๒ – ๘ ๒ – ๕
๓ – ๖ ๖ - ๗ ๓ – ๕ ๓ – ๘
๗ – ๘ ๒ - ๕ ๔ – ๗ ๔ – ๖
คู่ธาตุมิตร ไฟกับลม ดินกับน้ำ หมายถึง ความรัก ความเมตตา ความไว้วางใจ คนที่รักใคร่ใกล้ชิดกัน
คู่ธาตุศัตรู ไฟกับน้ำ ลมกับดิน หมายถึงการเป็นศัตรูกัน ขัดแย้ง อุปสรรค
คู่่สมพล หมายถึง อำนาจ อิทธิพล ความสามารถ ความรู้ ความชำนาญ ตำแหน่ง หน้าที่
คู่ธาตุ หมายถึง ความเป็นปึกแผ่น ความถาวร หรือความสมบูรณ์ ความยั่งยืน
ความหมายภพ(เรือนชะตา)
ตนุ คือ เจ้าชะตา ตัวตนของเจ้าชะตา นิสัย พฤติกรรม
กดุมภะ คือ ทรัพย์สิน ฐานะการเงิน การได้มา การสะสม
สหัชชะ คือ พี่น้อง เพื่อน สังคม การติดต่อสื่อสาร เดินทางใกล้ ตัวแทน นายหน้า
พันธุ คือ มารดา ญาติ หลักฐานดั้งเดิม ครอบครัว บ้าน รถ ที่ดิน ตำแหน่งหน้าที่
ปุตตะ คือ บุตร คนรัก ความคึกคะนอง ประมาท การเสี่ยงโชค ผจญภัย การเก็งกำไร ดอกเบี้ย การ ศึกษาในช่วงแรก การเริ่มต้น สิ่งใหม่ๆ
อริ คือ อุปสรรค ความขัดแย้ง ศัตรู หนี้สิน เจ็บป่วย โรคภัย รับใช้ แก้ปัญหาโจร ของหาย
ปัตนิ คือ คู่ครอง คู่สัญญา หุ้นส่วน คู่แข่ง คู่ความ
มรณะ คือ ความตาย การพลัดพราก โยกย้าย ต่างแดน ถิ่นไกล ความเดือดร้อนเสียหาย มรดก
ศุภะ คือ บิดา ผู้หลักผู้ใหญ่ ความเจริญก้าวหน้า เลื่อนตำแหน่ง กฎหมาย ศาสนา การศึกษา
ชื่อเสียง ระดับสูง ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ
กัมมะ คือ อาชีพ การงาน ภาระ ความรับผิดชอบ การกระทำ สถานที่ทำงาน
ลาภะ คือ ความสำเร็จ รายได้ ลาภลอย สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา เพื่อนสนิท
วินาศ คือ สิ่งที่ไม่เปิดเผย เบื้องหลัง ผู้ที่ช่วยเหลืออย่างลับๆ ลึกลับ การสูญเสีย วิบัติ โยกย้าย เปลี่ยนแปลง ต่างแดนถิ่นไกล ต่างประเทศ คุกตะราง ถูกกุมขัง
ดาวอาทิตย์ กำลัง 6
ดาวจันทร์ กำลัง 15
ดาวอังคาร กำลัง 8
ดาวพุธ กำลัง 17
ดาวเสาร์ กำลัง 10
ดาวพฤหัสบดี กำลัง 19
ดาวราหู กำลัง 12
ดาวศุกร์ กำลัง 21
รวมกำลังดาวทั้งหมดได้ 108
ภูมิทักษาจะนับเรียงโดยเริ่มจาก บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลี (กาลกิณี)
ความหมายของทักษา
บริวาร บุตร หลาน คู่ครอง คนรับใช้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูอายุ สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อายุ การดำเนินชีวิต
เดช ชื่อเสียง เกียรติยศ บรรดาศักดิ์ อำนาจ
ศรี ทรัพย์สิน เงินทอง ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ
มูละ หลักฐานบ้านช่อง ถิ่นที่เกิด ถิ่นที่อยู่อาศัย ที่ดิน หลักทรัพย์หลักฐาน
อุตสาหะ ความขยันหมั่นเพียร ความมานะ การกระทำ การทำงาน อาชีพ
มนตรี ผู้ใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือ อุปถัมภ์ เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา
กาลกิณี อุปสรรคต่าง ๆ ความทุกข์โศก ความอับโชค เคราะห์ร้าย อัปมงคล ความเป็นศัตรู
1 กุม หรือ ร่วมราศี
คือ ดาวตั้งแต่ 2 ดวงขึ้นไปอยู่ในราศีเดียวกัน ความสัมพันธ์ของดาวลักษณะนี้จะให้ผลหนักแน่น ถ้าเป็นดาวจร เรียกว่า ทับ
2 ร่วมเรือน
คือ ดาวที่สถิตอยู่ในราศี อาจมีความสัมพันธ์ถึงกันได้ โดยเรือนราศีที่ดาวนั้น สถิตอยู่นั้น ๆ เป็นเรือนของ ดาวเกษตรเดียวกัน โดยถือเสมือนบ้านเดียวกัน(เจ้าของบ้านคนเดียวกัน) ย่อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องแก่กัน
3 แฝงเรือนเกษตร (เรือนพาไป คล้ายกับร่วมเรือน เรียกอีกอย่างว่า เงาของดาว )
ดาวที่สถิตในราศีหนึ่ง จะมีอำนาจหรืออิทธิพลและมี ความหมายไปถึงอีกราศีหนึ่งได้ โดยราศีนั้นเป็นเรือน เกษตรเดียวกัน กับราศีที่ตนสถิตอยู่
4 แฝงดาวเกษตร
ดาวที่สถิตในราศีหนึ่ง มีโอกาสที่จะเกิดความสัมพันธ์ถึงราศีอื่น และดาวในราศีอื่นได้ โดยวิธีของ "แฝงดาวเกษตร" คือ ถ้าเจ้าเรือนเกษตรที่ตนสถิตนั้น ไปครองอยู่ในราศีใด ก็จะเป็นสื่อนำ ความสัมพันธ์ของตนนั้นเข้าสัมผัสกับราศี และดาวที่อยู่ราศีนั้น ๆ รวมถึงมีความสัมพันธ์ กับเจ้าเรือนราศีนั้น โดยทางสื่อสัมพันธ์จากดาวเกษตรนั้น ๆ ด้วย
5 ศูนยพาหะ
คือ ดาวที่นำหน้าดาวอื่น 1 ราศี แต่ถ้าราศีข้างหน้าเป็นราศี ว่างไม่มีดาวอยู่ ก็ถือว่าดาวที่อยู่ในเรือนที่ 3 เป็นดาวศูนยพาหะ ซึ่งดาวที่อยู่ข้างหน้าจะมีอิทธิพลต่อดาวที่อยู่ข้างหลัง อย่างมาก
6 จตุโกณ หรือ เกณฑ์
คือมุมที่ดาว อยู่ห่างกัน 4 ราศี เป็น 1 4 7 10 แก่กัน เป็นมุมที่ให้ผลรุนแรง หนักแน่นทั้งด้านดีและร้าย
7 โยค
คือ มุมที่ดาว อยู่ห่างกัน 3 ราศี ถ้าอยู่ข้างหน้าเรียกว่า โยคหน้า (เป็น 3) ถ้าอยู่ข้างหลัง เรียกว่า โยคหลัง (เป็น 11 )
8 ตรีโกณ
คือ ดาวที่อยู่กัน 5 ราศี เป็นมุมที่เกื้อกูลกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ถึงแม้จะเป็นดาวให้โทษ ก็ให้ผลดีบ้างเพราะร่วมราศีธาตุเดียวกัน
9 กฎแรงเอื้อม
ดาว ๓ แรงเอื้อม เป็น 4 8 , ดาว ๕ แรงเอื้อมเป็น 5 9 , ดาว ๗ แรงเอื้อมเป็น 3 10

ดาวเกษตร เจ้าเรือนราศี
การโคจรของดาว อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ มฤตยู จะจรทวนเข็มนาฬิกา เรียกว่า
อุตราวัฏ (เวียนซ้าย) หรือ เรียกว่า จรตามจักร
การโคจรของ ราหู เกตุ จะจรตามเข็มนาฬิกา เรียกว่า ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา)หรือ เรียกว่า จรย้อนจักร หรือ จรทวนจักร
สำหรับดาวเคราะห์ใดที่ครอง ๒ ราศี คือ อังคาร พฤหัสบดี พุธ ศุกร์ และเสาร์ เรียกว่าเอกาธิปไตย
ความหมายของดาวเกษตร คือแสดงความมั่นคง ความแน่นอน ความมีหลักฐาน ความกว้างใหญ่ไพศาล และความมีมานะอดทน สุดแท้แต่ดวงของผู้ใดจะได้ดาวเกษตรตัวใดครองเรือน เพราะดาวเกษตรทั้ง ๘ ดวงให้คุณแก่เจ้าชาตาไม่เหมือนกันและถ้าดาวนั้นๆ มีจุดองศาได้ตามจำนวนจำกัด ถือว่าเป็นมหาเกษตร คือแสดงความยิ่งใหญ่เต็มที่
๑. อาทิตย์ - ให้คุณ ทางรูปสวย รวยทรัพย์ มีตบะ เป็นที่เกรงกลัวของคน เด็ดขาด ชนะศัตรู และมีเกียรติ ถือตัวเป็นอิสระแก่ตนเอง
๒. จันทร์ - ให้คุณ เป็นที่เคารพรักใคร่ของคนทั่วไป จะได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ อุดมด้วยทรัพย์สินเงินทอง แต่งกายเรียบร้อยสะอาด ชอบรับประทานของดีๆ และมักชอบฉวยโอกาส
๓. อังคาร - ให้คุณ เป็นผู้มีความรู้หลายอย่าง มียศสูง มีนา มีสวน มีไร่ เป็นทหารดีที่หนึ่ง เป็นพ่อค้าก็ดี ตัดสินได้รวดเร็วและถูกต้อง
๔. พุธ - ให้คุณ เป็นผู้มีปัญญาดี เป็นนักเขียนหรือนักประพันธ์ รู้การงานมากและเป็นคนมีทรัพย์มาก เต็มไปด้วยศิลป
๕. พฤหัสบดี - ให้คุณเป็นผู้มีปัญญามีความสามารถมาก พร้อมด้วยสติปัญญารอบคอบ มีทรัพย์สมบัติมาก จักเป็นใหญ่กว่าคนทั้งปวง ชอบความสงบ ยุติธรรม คงแก่เรียน
๖. ศุกร์ - ให้คุณ เป็นผู้ทรงไว้ด้วยศีลธรรมอันดี เจริญด้วยทรัพย์สินเงินทองมากมาย มีข้าวของธัญญาหารอันอุดม ร่าเริงเจ้าสำราญ
๗. เสาร์ - ให้คุณ กล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดขาด ผมบาง มีเงินมีทองมาก สะสมทรัพย์สมบัติ
๘. ราหู - ให้คุณ ทำให้ผมบาง หรือศีรษะล้าน ลาภผลดีมาก อายุกลางคนไปแล้วรวยมาก เพื่อนฝูงมาก คบคนทุกชั้น
ดวงประเกษตร เรียกว่าศัตรูของเกษตร ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกษตร จึงเรียกว่าประเกษตร เป็นดาวที่ไม่ให้คุณ ความหมายของที่เป็นประเกษตร มักแสดงผลทางตรงกันข้ามเป็นอุปสรรคขัดขวางดาวเกษตร ดวงที่เป็นประเกษตร จะส่งผลหนักไปในทางอาภัพ เต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวางเสียก่อนเสมอ
ตำแหน่งของดาวเคราะห์ขณะเป็นประเกษตร สังเกตเห็นอยู่ตรงข้ามกับดาวเกษตรนั้นเอง โดยมีอิทธิพลดังนี้
๑. อาทิตย์ - ทำให้รูปร่างขี้เหล่ไม่ได้สัดส่วน ทรัพย์น้อย มิตรสหาย เพื่อนฝูงจะเบียดเบียนมาก ทำความดีกับเป็นความชั่ว มีที่อยู่ลดน้อยถอยลง ลาภผลหาได้ยาก
๒. จันทร์ - รูปร่างหาความสวยงามมิได้ ทรัพย์พอปานกลาง ชอบมีแต่เมีย หาหลักฐานไม่ได้ พึ่งลูกพึ่งเมียก็ไม่ได้ต้องช่วยตนเอง
๓. อังคาร - อาภัพเรื่องญาติและมิตรสหาย จะพึ่งพาอาศัยอะไรเขาไม่ได้ มีแต่เขาจะมารบกวนเราเท่านั้น นอกจากนั้นเขากลับจะเป็นศัตรูอีก
๔. พุธ - อาภัพไม่สมหวังในเรื่องญาติมิตรสหายและภรรยา ลูกหลานพึ่งพาอาศัยไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นก็อยู่รวมกันไม่ได้ด้วย อาจจะเป็นคนที่ไม่มีภรรยาและบุตร
๕. พฤหัสบดี - จะไม่สมหวังเกี่ยวกับที่พึ่ง ครูบาอาจารย์สั่งสอนไม่ได้ ขาดที่พึ่งพาอาศัย พึ่งผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ (ดวงชาตานอนวัด)
๖. ศุกร์ - ร่างกายรูปทรงมักผิดแปลกจากคนธรรมดา ประสาท หูและตาอาจผิดปกติ มีโรคประจำตัว อวัยวะไม่สมบูรณ์
๗. เสาร์ - ไม่สมหวังในเรื่องการคบเพื่อน มิตรสหายมากหลาย แต่เมื่อเขามาหาเรา มักนำความเดือดร้อนมาให้ทุกที
๘. ราหู - ทำให้นิสัยใจคอหยาบช้า กล้าแข็ง ไม่ซื่อตรงต่อมิตร ดวงตาอาจวิปริตกว่าธรรมดา มีลักษณะหงอยไม่สง่า
ดาวอุจ
ดาวที่เป็นอุจ หมายถึง ตำแหน่งของดาวเคราะห์ทุกดวงที่สถิตอยู่ในตำแหน่งสูงสุด หมายถึง เอาทั้งราศีนั้นๆ ซึ่งดาวอุจได้ครอบครองด้วย และหมายถึงดาวทุกดวงที่กำลังโคจรอยู่จวนจะเข้าเป็นอุจด้วย ถึงตัวจะไม่เข้าราศีเป็นอุจ หากมีองศาได้ ๒๗ องศาแล้ว แสงถึงเรือนอุจทั้งนั้น ก็จัดว่าเป็นอุจได้แล้ว แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในราศีอุจ ไม่ต้องได้องศาจำกัดจึงจัดเป็นอุจ ซึ่งมีกำลังอ่อนกว่ามหาอุจ เช่นดาวอาทิตย์อยู่ราศีมีน มีองศา ๒๘ องศากำลังโคจรจะเข้าราศีเมษ อาทิตย์จัดเป็นอุจได้แล้ว พอดาวอาทิตย์เข้าราศีเมษ ก็เป็นอุจโดยสมบูรณ์ แต่ถ้าหากอาทิตย์อยู่ในราศีเมษ มีองศาเต็มที่ตามจำนวนจำกัดไว้ ๑๐ องศาในราศีเมษ อาทิตย์ก็กลายเป็นมหาอุจทันทีแสดงคุณภาพดีเด่นที่สุด
อุจ คือ จุดสูงในท้องฟ้า ดาวที่เป็นอุจ จึงมีอำนาจ ความร้อนแสงสว่างความรุ่งโรจน์โชติช่วง และพลังงานทางฟิสิกส์ตลอดจนความดึงดูดและดันดีด ย่อมเพิ่มทวียิ่งขึ้นกว่าปกติธรรมดา ฉะนั้น ดาวที่เป็นอุจจึงมีอำนาจและคุณภาพแตกต่างกัน ดังนี้คือ
๑ อาทิตย์ เป็นอุจ อยู่ในราศีเมษ - เป็นผู้มีทรัพย์ เป็นผู้ชนะศัตรู มีมิตรก็ดี เข้มแข็ง และซื่อสัตย์ เจริญด้วยศิลปวิทยา อยู่ในศีลธรรม พอใจในความสงบ น้ำใจเมตตากรุณา กำลังกายเข้มแข็ง ความรู้มาก มีโชควาสนาสูง
๒ จันทร์ - เป็นผู้มีทรัพย์ รูปร่างสวย เป็นที่รักใคร่ของมหาชน จะชำนาญทางวรรณคดี มีความขยันขันแข็ง มีอายุยืน และมีบุตรบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยทรัพย์
๓ อังคาร - เป็นคนกล้าเจรจาคำคม มีโทสะร้ายแต่หายเร็ว จะมีเกียรติชื่อเสียง เป็นผู้มีชัยชนะ โภคสมบัติสมบูรณ์ สนใจในการศึกษาและค้นคว้า เจ้ายศเจ้าอย่าง จะเป็นไข้อย่างแรงครั้งหนึ่ง
๔ พุธ - เป็นผู้มีรูปสวยรวยทรัพย์ มีวิชาความรู้ พอใจในการศึกษา ร่าเริงแจ่มใส เป็นที่นิยมกับคนทั่วไปและมีโชคดีเสมอ มีบุตลบริวาร คู่ครอง และคนรักมาก ชีวิตมีความสุข
๕ พฤหัสบดี - เป็นผู้มีปัญญา ความรู้สูง ทำแต่คุณประโยชน์ ไม่มีคนชัง ผู้ใหญ่และครูบาอาจารย์รักใคร่ ไปสารทิศใดมักมีโชคลาภเสมอ ให้อภัยไม่พยาบาท ช่วยเหลือเจือจานบุคคลส่วนมาก ระงับโทสะได้ง่าย มีอุดมคติในอริยธรรม กำลังกายแข็งแรง
๖ ศุกร์ - เป็นคนมีทรัพย์สมบัติ มีความรู้ในธรรม กิริยาสุภาพ วาจาอ่อนหวานไพเราะ มีน้ำใจเมตตากรุณา อายุยืน มีลักษณะและคุณภาพแปลกๆ ย่อมตกอยู่ในอิทธิพลของการเงิน
๗ เสาร์ - เป็นคนมีน้ำใจกล้าแข็ง มักมีอำนาจวาสนา ชนะศัตรู มีอายุยืนนาน ได้บุตรบริวารดี ได้รับการอุดหนุนเจือจุนเป็นอย่างดี ย่อมเป็นใหญ่ได้ จะชำนาญในศิลปกรรม (ฝีมือดี) มีเมตตากรุณา ร่างอวบ ถ้าเป็นหญิงจงรักในสามีดี จะสมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
๘ ราหู - จะเจริญด้วยทรัพย์สมบัติ (คุณภาพต่างๆ เหมือนเสาร์)
ดาวนิจ
ดาวเคราะห์ที่เป็นนิจ คือดาวที่อยู่ในราศีตรงข้ามกับดวงอุจ และดวงมหาอุจนั่นเอง
นิจ แปลว่า ต่ำหรือเบื้องล่างต่ำสุด ดาวที่เป็นนิจ เป็นฝ่ายที่ให้โทษร้าย มุ่งผลในด้านต่ำช้า และให้โทษตรงข้ามกับอุจและมหาอุจ ดาวที่เป็นนิจจึงมีโทษและความตกต่ำต่างๆ กัน คือ
๑ อาทิตย์ - ผู้นั้นจะตกเป็นทาสแก่ตนเอง มีมิตรต่ำ อาภัพญาติพี่น้อง เป็นที่เกลียดชังแก่ญาติพี่น้อง มีศัตรูมากและคิดปองร้าย ทั้งเบียดเบียนด้วย
๒ จันทร์ - ผู้นั้นจะมีโรคภัย และทรัพย์มักวิบัติ เพศตรงข้ามมักก่อเหตุขึ้น ย่อม เหลวแหลกในเรื่องชู้สาว (มีเชื่อเรียกจันทร์เป็นนิจว่า จันทร์รู) มีโรคเบียดเบียนประจำตัว ขี้โรค มักได้คู่เป็นหม้าย
๓ อังคาร - ผู้นั้นจะหาทรัพย์ได้ยาก จะเป็นผู้รับใช้ แต่มักหย่อนต่อศีลธรรม ในทางชู้สาว มีทรัพย์เก็บไม่อยู่ บริวารมักหนีห่าง พวกพ้องมักจะเป็นศัตรู จะวิบัติเมื่อแก่ด้วย
๔ พุธ - ผู้นั้นจะมีญาติเป็นผู้รับใช้ ทำให้เป็นพาลหรือมีนิสัยเป็นพาล พูดไม่มีมรรยาท มักขู่เข็ญ และทะเลาะกับญาติตนเองอยู่เสมอ และญาติกลับเป็นศัตรู
๕ พฤหัสบดี - ผู้นั้นมักพูดจาไม่น่าฟัง จะมีโทษเพราะปากพล่อย หรือโอฐภัย ทำให้เป็นผู้เขลาปัญญา และจะเสียเพราะนิสัยพูดง่าย
๖ ศุกร์ - ผู้นั้นอาภัพความรักใคร่ อาภัพคู่ครอง แพ้คู่ และเสื่อมทรัพย์ ขาดสมรรถภาพ ต้องพึ่งผู้อื่น มีอำนาจจิตหรือความเข้มแข็งน้อยกว่าคู่ครองของตน มักมีบุตรอ่อนแอหรือบุตรจะตายจากไป
๗ เสาร์ - ผู้นั้นใช้จ่ายเก่ง พึ่งพาอาศัยญาติไม่ได้ เผ่าพันธุ์มักจากไปหรือวิบัติขึ้น จะถูกใส่ความหรือเข้าใจผิด และเสียทรัพย์บ่อย
๘ ราหู - ผู้นั้นเดือดร้อนที่อยู่ เป็นคดีถ้อยความ อาจได้รับโทษกักขังจองจำ ใจน้อย ใจแข็งขลาดต่อการสารภาพผิด มักต้องย้ายที่อยู่เสมอ
ดาวมหาจักร
๑ อาทิตย์ - ให้คุณทางลาภยศ มีหลักฐาน อำนาจ บังคับบัญชา เป็นหัวหน้าใหญ่ จะมั่งคั่งร่ำรวยด้วย
๒ จันทร์ - ให้คุณทางรูปสวยรวยทรัพย์ มักได้ดีเป็นใหญ่เป็นโต มีเกียรติชื่อเสียง มีหลักฐาน ที่ดิน ตึก อาคาร ถ้าสตรีมักจะได้สามีที่มีหลักฐานสูงๆ เสมอ อาจเป็นคุณนาย คุณหญิง ท่านผู้หญิงก็ได้ แม้จะหาบของขายแต่เดิมก็ย่อมให้คุณอยู่นั่นเอง
๓ อังคาร - ให้คุณทางเป็นคนใจกล้า จะร่ำรวย ให้ผลดีทางอำนาจ เกียรติชื่อเสียง เด็ดเดี่ยว อดทน จะมั่งมีเงินทองมาก
๔ พุธ - ให้คุณเด่นในทางมีทรัพย์สมบัติ มีบริวาร คนรักใคร่มาก จะได้รับเกียรติยศชื่อเสียงทางวิชาการ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้วย
๕ พฤหัสบดี - ให้คุณทางความมั่งคั่งร่ำรวย มีวิชาการสูงเด่น มีเกียรติยศชื่อเสียง และประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
๖ ศุกร์ - ให้คุณทางมีโภคทรัพย์สมบัติพัสสถานร่ำรวย มีฐานะดี มีคุณธรรมสูง มีเกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดัง
๗ เสาร์ - ส่งผลดีทางมีทรัพย์สินเงินทองเป็นปึกแผ่นร่ำรวย รู้จักเก็บออม มีหลักฐานดี ตึก เรือน อาคารด้วย
๘ ราหู - ให้คุณทางอำนาจ มักมีชื่อเสียงและร่ำรวยด้วย มีอำนาจการปกครองบังคับบัญชาดี มีบริวาร และพรรคพวกมาก มีโชคชัยชนะศัตรู
ดาวจุลจักร
ดาวราชาโชค
ดาวเคราะห์ดวงราชาโชค เป็นดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติอย่างแน่นอนที่สุด ไม่ยกเว้นตำแหน่งที่ดาวเคราะห์นั้นๆ เข้าครองเรือนภพใดๆ ถ้าหากดาวเคราะห์ราชาโชคได้ครองตำแหน่งในเรือนกัมมะแก่ลัคน์ด้วยแล้ว จะต้องประเสริฐเลิศคนอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน อิทธิพลของดาวเคราะห์ที่เป็นราชาโชคมีต่างๆ กันดังนี้ คือ
๑ อาทิตย์ เป็นราชาโชค - มีอานุภาพเป็นที่รักของปวงชน มีความนิยมในทางราชการ
๒ จันทร์ เป็นราชาโชค - มีความนิยมต่อผู้ใหญ่ทั่วไป คู่ครองเป็นผู้มีวาสนา หมายถึงพระนางเจ้าเป็นผู้อุปถัมภ์
๓ อังคาร เป็นราชาโชค - มีความนิยมต่อผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ มีมิตรสหายเป็นที่พึ่ง
๔ พุธ เป็นราชาโชค - มีความนิยมต่อนักประพันธ์และทางธรรม มีสติปัญญาดี เจรจามีศิลป
๕ พฤหัสบดี เป็นราชาโชค - มีความนิยมต่อนักปราชญ์ และครูบาอาจารย์ ผู้ทรงศีลจะเมตตารักใคร่ และจะเป็นผู้มีความสุขมาก
๖ ศุกร์ เป็นราชาโชค - มีความนิยมต่อประชาชน ทำราชการเจริญ จะมีทรัพย์สมบัติด้วย
๗ เสาร์ เป็นราชาโชค - เป็นที่นิยมทางการงาน ราชการสูงเด่น มีอายุยืนนาน
๘ ราหู เป็นราชาโชค - เป็นที่นิยมของพวกโจร และพวกนักเลง มีบริวารมากอาจเป็นเศรษฐี
ดวงดาวเคราะห์ที่เป็นเทวีโชค คือดาวที่อยู่ในตำแหน่งในราศีตรงข้ามกับดวงดาวที่เป็นราชาโชค
ดาวเทวีโชค
ดาวเคราะห์เทวีโชค ให้คุณน้อยกว่าดวงดาวราชาโชค แต่ถ้ากุมลัคนาแล้ว จึงจะมีคุณสมบัติเด่นดีที่สุด ให้คุณเป็นพิเศษสุด เท่ากับดาวนั้นเป็นราชาโชคเช่นกัน
********************************
หลักใหญ่สำหรับโหราศาสตร์ที่ต้องรู้ คือ 3 อย่าง คือ
1. ดาว
2. เรือนชาตา
3. ราศี
หลักการและกฎเกณฑ์เป็นส่วนประกอบในการพิจารณา
หลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการพยากรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการพยากรณ์บุคคล พยากรณ์เหตุการณ์ของโลก พยากรณ์ดินฟ้าอากาศ พยากรณ์ด้านการเกษตร พยากรณ์การเจ็บไข้ได้ป่วย การพยากรณ์ประเทศชาติบ้านเมือง ตลอดจนเรื่องของฤกษ์ต่าง ๆ
1. ดาว
2. เรือนชาตา
3. ราศี
หลักการและกฎเกณฑ์เป็นส่วนประกอบในการพิจารณา